Palestine Mandate; British Mandate for Palestine; Mandate of Palestine (-)

ดินแดนในอาณัติแห่งปาเลสไตน์ (-)

​ดินแดนในอาณัติแห่งปาเลสไตน์มีอาณาเขตอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่นํ้าจอร์แดน(Jordan) เป็นดินแดนที่เคยอยู่ในความครอบครองของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)* หรือตุรกีตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War)* ยุติลง ดินแดนดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นดินแดนในอาณัติ (mandate) ของสันนิบาตชาติ (League of Nations)* โดยให้อังกฤษเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา ๒๒ ของกติกาสันนิบาตชาติ เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)* ขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนีใน ค.ศ. ๑๙๓๓ และดำเนินนโยบายกีดกันชาวยิวชาวยิวซึ่งแต่เดิมเป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนนี่ที่มีชาวอาหรับอาศัยอยู่กว่าร้อยละ ๙๐ ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งมากขึ้นเมื่อฮิตเลอร์ใช้นโยบายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust)* ต่อชาวยิวทั่วยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War)* หลังสงครามรัฐบาลอังกฤษไม่สามารถแก้ปัญหาการบริหารดินแดนให้เป็นที่พอใจแก่ทั้งฝ่ายยิวและฝ่ายอาหรับในพื้นที่จึงเสนอเรื่องให้สหประชาชาติ (United Nations)* พิจารณา สหประชาชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อศึกษาเรื่องนี้ รายงานของคณะกรรมาธิการดังกล่าวเสนอให้แบ่งดินแดนออกเป็นรัฐยิวและรัฐอาหรับภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับ ส่วนอังกฤษซึ่งไม่ประสงค์จะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับอีกต่อไปก็ประกาศว่าจะยุติบทบาทในการดูแลดินแดนในอาณัติแห่งนี้ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ ต่อมาเมื่ออังกฤษถอนทหารออกไปอิสราเอลก็ประกาศจัดตั้งประเทศขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ตามแนวพรมแดนที่สหประชาชาติกำหนด โดยทันที นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอันยืดเยื้อระหว่าง อิสราเอลักบประเทศสมาชิกสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ในเวลาต่อมา
  การที่ตุรกีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน ค.ศ. ๑๙๑๔ โดยอยู่ฝ่ายเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ทำให้อังกฤษ คิดหาทางสนับสนุนชาวอาหรับและชาวยิวที่เคลื่อนไหวอยากเป็นอิสระจากพวกเติร์ก เพราะเห็นว่าเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้ตุรกีอ่อนแอ และหากอาหรับเป็นอิสระจะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษในบริเวณคลองสุเอซ (Suez) ฝ่ายชาวอาหรับก็เห็นว่าการเข้าช่วยอังกฤษรบจะช่วยให้ตนได้รับเอกราชเร็วขึ้นหากอังกฤษเป็นฝ่ายมีชัยชนะ ดังนั้นในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๕ เซอร์เฮนรี แมกมาฮอน(Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์จึงมีหนังสือถึงฮุสเซนอิบน์-อาลี (Hussein ibn-Ali) ชารีฟแห่งนครเมกกะ (Sharif of Mecca) เพื่อให้สัญญาในนามรัฐบาลอังกฤษว่า หากชารีฟอุสเซนอิบน์-อาลีนำชาวอาหรับลุกฮือก่อกบฏต่อตุรกี เมื่อสินสงครามอังกฤษจะมอบเอกราชให้แก่ดินแดนในจักรวรรดิตุรกีที่มีชาวอาหรับอาศัยอยู่ ข้อความดังกล่าวทำให้ชารีฟเข้าใจว่า ดินแดนนั้นครอบคลุมคาบสมุทร


อาระเมีย (ยกเว้นเอเดน) อิรัก ซีเรีย ทรานส์จอร์แดน(Transjordan) ปาเลสไตน์ เลบานอนและบางส่วนของคาบสมุทรอะนาโตเลีย (Anatolia) ส่วนอังกฤษถือว่า ดินแดนที่มีชาวอาหรับอาศัยอยู่นั้นไม่ครอบคลุมส่วนของซีเรียทางตะวันตกของนครดามัสกัส(Damascus) ฮอมส์ (Homs) ฮามา (Hama) และอาเล็ปโป (Aleppo) เพราะไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเขตอาหรับแท้ ๆ ข้อยกเว้นนี๋ได้ก่อปัญหาขึ้นภายหลังเพราะทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ไต้เอ่ยถึงปาเลสไตน์และเยรูซาเลมตรง ๆ หรือกล่าวยกเว้นไว้ อาหรับจึงเข้าใจว่าดินแดนที่จะได้รับเอกราชครอบคลุมปาเลสไตน์ด้วย เพราะปาเลสไตน์อยู่ทางใต้ของนครดามัสกัสไม่ใช่ทางตะวันตก ขณะที่อังกฤษระบุว่า ข้อยกเว้นหมายถึง ปาเลสไตน์โดยตรงเพราะมี ๒ ตำบล ที่ขึ้นอยู่กับเขต ปกครองของนครเบรุต (Beirut)
  ในเดือนมิถุนายนค.ศ. ๑๙๑๖ ฮุสเชนอิบน์-อาลี ประกาศสงครามต่อตุรกีในนามชาวอาหรับทั้งมวล กองกำลังอาหรับยึดที่มั่นของพวกเติร์กในคาบสมุทรอาระเมียได้หลายแห่ง และเสริมทัพของนายพลเอดมันด์ แอลเลนบี (Edmund Allenby) ในการบุกดินแดนปาเลสไตน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ แอลเลนบีได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวอาหรับในท้องถิ่นต่าง ๆ เพราะคิดว่าการเป็นเอกราชของตนใกล้เป็นความจริงโดยไม่รู้เกี่ยวกับข้อตกลงไซกส์-ปีโก (Sykes-Picot Agreement) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๑๖ เพื่อแบ่งเขตอิทธิพล ระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งระบุว่าเมื่อสงครามยุติฝรั่งเศสจะได้รับสิทธิจัดการอนาคตของเลบานอนและซีเรีย ส่วนอังกฤษจะได้รับสิทธิจัดการอนาคตของอิรักและทรานส์จอร์แดนส่วนปาเลสไตน์นั้นจะอยู่ในความดูแลของนานาชาติจนกว่า ชาติพันธมิตรผู้ชนะสงครามจะตกลงกันในที่ประชุมสันติภาพอย่างไรก็ดีในเดือนพฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๑๗ หนึ่งเดือนก่อนที่เยรูชาเลมจะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร อังกฤษได้ออกปฏิญญาบัลฟอร์ (Balfour Declaration)* ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่อาร์เทอร์ บัลฟอร์ (Arthur Balfour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษมีหนังสือถึงลอร์ดวอลเตอร์ รอทส์ไชลด์ (Walter Rothschild) นักการเมืองตระกูลขุนนางอังกฤษเชื้อสายยิวที่มั่งคั่งซึ่งเป็นประธานสหพันธ์ไซออนิสต์แห่งอังกฤษ (British Zionist Federation) ระบุว่า อังกฤษจะสถาปนาประเทศของชาวยิว(Jewish national home) ขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์แต่จะไม่ทำการใด ๆ อันเป็นอคติต่อสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางศาสนาของชนกลุ่มอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เมื่ออังกฤษรบชนะตุรกีใน ค.ศ. ๑๙๑๗ จึงได้เข้ายึดครองปาเลสไตน์และซีเรีย กองทัพอังกฤษเข้ามาบริหารดินแดนดังกล่าวจนสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติลง สำหรับคนในท้องถิ่นแล้วการที่ทหารอังกฤษเข้าไปแทนที่พวกเติร์กได้ช่วยยุติภาวะการขาดแคลนอาหาร เพราะอังกฤษได้ส่งอาหารจากอียิปต์เข้าไปเลี้ยงดูชาวพื้นเมือง ช่วยกำจัดการระบาดของโรคไข้รากสาดและอหิวาตกโรค และปรับปรุงการจัดส่งนํ้าเข้าสู่นครเยรูชาเลม ส่วนในด้านการบริหารอังกฤษก็ช่วยลดการคอร์รัปชันเพราะอังกฤษจ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้พิพากษา ชาวอาหรับและยิวสูงกว่าเดิม การคมนาคมสื่อสารก็ได้รับการปรับปรุงด้วยการพัฒนาระบบโทรเลขและเส้นทางรถไฟ สายใหม่ ๆ
  ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๒๐ ชาวอาหรับมุสลิม และอาหรับคริสเตียนซึ่งต่อต้านขบวนการไซออนิสต์ (Zionist Movement)* ที่เคลื่อนไหวเพื่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ได้จัดประชุมใหญ่ขึ้นที่กรุงดามัสกัสและมีผู้แทนจากปาเลสไตน์เข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้ลงมติปฏิเสธปฏิญญาบัลฟอร์และเลือกไฟซาล (Faisal) บุตรชายของชารีฟฮุสเซนอิบน์-อาลีซึ่งปกครองเฮจาซ (Hejaz) ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งซีเรียซึ่งจะรวมปาเลสไตน์ด้วยต่อมาในเดือนเมษายนเกิดการจลาจลต่อต้านพวกไซออนิสต์ในดินแดนปาเลสไตน์ มีชาวยิวเสียชีวิต ๕ คนบาดเจ็บ ๒๐๐ คนคณะกรรมาธิการไต่สวนเหตุการณ์ครั้งนี้ของอังกฤษสรุปว่าเป็นเพราะชาวอาหรับผิดหวังที่ไม่ได้เอกราชตามสัญญา และกลัวว่าจะต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำทางเศรษฐกิจ และการเมืองของพวกไซออนิสต์
  ในวันที่ ๒๕ เมษายนค.ศ. ๑๙๒๐ ประเทศมหาอำนาจ ยุโรปได้ประชุมกันที่เมืองซานเรโม (San Remo) ในเขตริเวียรา ของอิตาลี และได้ออกอาณัติซึ่งผนวกเนื้อความในปฏิญญาบัลฟอร์เข้าไปด้วย โดยเห็นชอบให้อังกฤษดูแลดินแดนในอาณัติแห่งปาเลสไตน์และทรานส์จอร์แดนในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้แบ่งดินแดนของจักรวรรดิตุรกีเดิมสำหรับภูมิภาคซีเรียนั้นเขตครึ่งทางเหนืออันได้แก่ ซีเรีย และเลบานอนให้เป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศสส่วนครึ่งทางใต้อันหมายถึงปาเลสไตน์ให้อังกฤษดูแล ต่อมาในวันที่ ๑ กรกฎาคม เซอร์เฮอร์เบิร์ต แซมวล (Herbert Samuel) ซึ่งสนับสนุนลัทธิไซออนิสต์ (Zionism) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่คนแรกเข้าไปบริหารงานพลเรือนแทนที่การจัดการของกองทัพอังกฤษในดินแดนปาเลสไตน์ มีการประกาศให้โควตาเข้าเมืองแก่ชาวยิวอพยพสำหรับปีแรกจำนวน๑๖,๕๐๐ คนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการยั่วยุให้ฝ่ายอาหรับประท้วง และมีการก่อตั้งสมาคมคริสเตียนมุสลิมขึ้นทั่วปาเลสไตน์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๒๑ เกิดการจลาจลต่อต้านลัทธิไซออนิสต์ขึ้นอีกซึ่งทำให้ชาวยิวเสียชีวิต ๔๖ คนบาดเจ็บ ๑๔๖ คนผลการไต่สวนหลังเหตุการณ์ สรุปว่าเป็นเพราะฝ่ายอาหรับหวั่นเกรงการอพยพของชาวยิว
  ในเดือนมิถุนายนค.ศ. ๑๙๒๒ รัฐบาลอังกฤษจึงออกสมุดปกขาวอธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐยิวว่า รัฐยิวไม่ใช่ดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด แต่รัฐยิวจะตั้งอยู่ในดินแดนนี่จำนวนผู้อพยพของชาวยิวก็จะไม่เกินความสามารถทางเศรษฐกิจที่ดินแดนนี่จะรองรับได้ อย่างไรก็ดี ฝ่ายอาหรับปฏิเสธคำชี้แจงดังกล่าวเพราะถือว่าฝ่ายตนเป็นชนส่วนใหญ่จึงปรารถนาที่จะควบคุมกลไกการปกครองต่าง ๆ และได้รับเอกราชโดยเร็วในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๒ ที่ประชุมสันนิบาตชาติให้สัตยาบันให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติและต่อมาสนธิสัญญาโลซาน(Treaty of Lausanne) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายนค.ศ. ๑๙๒๓ ก็รับรองสถานภาพนี่อีกครั้งโดยจัดให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติสันนิบาตชาติกลุ่มเอ เช่นเดียวกับอิรัก ซีเรีย เลบานอนดินแดนเหล่านี้ถือว่ามีความก้าวหน้าและมีอิสระพอควรแต่ต้องอยู่ในความควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรจนกว่าจะสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง แม้ว่าทรานส์จอร์แดน(ต่อมาเรียกว่าจอร์แดน) ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าจอร์แดนทั้งหมดถูกนำมารวมอยู่ในอาณัติเดียวกันด้วยแต่ไม่อยู่ในเงื่อนไขของอาณัติว่าต้องสถาปนาเป็นถิ่นฐานของชาวยิวอังกฤษแต่งตั้งอับดุลลาห์ อิบน์-ฮุสเชน(Abdullah ibn-Hussein) บุตรอีกคนของชารีฟ ฮุสเซนอิบน์-อาลี ซึ่งเป็นน้องชายของไฟซาลที่เคยช่วยนายพลแอลเลนบีรบ ดำรงตำแหน่งเอมีร์ (emir) ทำหน้าที่กึ่งอธิปัตย์ปกครองดินแดนนี่แยกออกไปจากปาเลสไตน์
  ในความนำหรืออารัมภบทของอาณัติแห่งปาเลสไตน์ได้กล่าวถึงปฏิญญาบัลฟอร์เกี่ยวกับการสถาปนาถิ่นฐานของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ โดยเน้นความเกี่ยวพันทางประวิติศาสตร์ของชาวยิวกับดินแดนนี่ ในมาตรา ๒ ของอาณัติระบุให้ประเทศผู้ดูแลรับผิดชอบในการจัดให้ปาเลสไตน์อยู่ในสภาวะทางการเมือง การบริหาร และเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การสถาปนารัฐยิวและการพัฒนาสถาบันปกครองตนเองต่าง ๆ และในมาตรา ๔ รับรองให้มีการจัดตั้งองค์กรตัวแทนชาวยิว(Jewish Agency) ที่เหมาะสมเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำและร่วมมือกับทางการอังกฤษในการบริหารดินแดนปาเลสไตน์อาณัตินี่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ยิวในการเข้าเมืองและจะสนับสนุนให้ชาวยิวเข้ามาตั้งรกรากในที่ดินที่เป็นของรัฐและที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่อาณัติที่ว่าด้วยปาเลสไตน์กลับไม่ได้กล่าวถึงชุมชนอาหรับหรือสถาบันต่าง ๆ ของชุมชนอาหรับแต่อย่างใด ชุมชนอาหรับในปาเลสไตน์ได้รับการปฏิบัติจากอังกฤษเพียงว่าไม่ใช่พวกยิวหรือไม่ก็เรียกกลุ่มชนเหล่านี้ตามศาสนาที่นับถือว่าเป็นชาวคริสต์หรือชาวมุสลิมเท่านั้นชาวอาหรับจึงเห็นว่าอาณัตินี่ละเมิดกติกาของสันนิบาตชาติและหลักแห่งการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณัตินี่ละเมิดมาตรา ๒๒ ของกติกาสันนิบาตชาติที่ให้การรับรองชั่วคราวว่าปาเลสไตน์และภูมิภาคอาหรับต่าง ๆ เป็นดินแดนของชาติอิสระ
  ระหว่าง ค.ศ. ด๙๒๓-ด๙๒๘ มีการพัฒนาเกิดขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์หลายประการ เช่นการจัดตั้งอุตสาหกรรมใหม่ ๆ การริเริ่มการเกษตรแผนใหม่ในรูปนารวม การจัดตั้งสหกรณ์หลากหลาย การขยายระบบชลประทานและการทำนาแบบให้ได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้นการพัฒนาเมืองเจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาเขตชนบท ขณะเดียวกันระบบสาธารณูปโภคและคมนาคมก็ดำเนินไปให้สามารถรองรับได้อย่างดี ส่วนการจัดตั้งรัฐยิวนั้นฝ่ายอาหรับคัดค้านอย่างเปิดเผยเรื่อยมา และต้องการให้จำกัดการซื้อที่ดินและตัดทอนหรือระงับการเข้าเมืองของชาวยิวอีกทั้งยังขุ่นเคืองที่ฝ่ายตนตกเป็นฝ่ายไร้อำนาจและมีบทบาทรองในด้านการบริหารต่าง ๆ ความพยายามของอังกฤษที่จะจัดตั้งสภานิติบัญญัติซึ่งประกอบด้วย มุสลิม คริสเตียนและยิวก็ไม่บังเกิดผลเพราะฝ่ายอาหรับควํ่าบาตร อย่างไรก็ดี ช่วง ค.ศ. ๑๙๒๓-๑๙๒๙ สถานการณ์ยังค่อนข้างเงียบ ส่วนหนึ่งเพราะจำนวนชาวยิวอพยพลดลงระหว่าง ค.ศ. ๑๙๒๖-๑๙๒๘ ใน ค.ศ. ๑๙๒๗ จำนวนคนยิวอพยพออกมากกว่าอพยพเข้าและปีถัดมายิวอพยพเข้ามียอดสุทธิเพียง ๑๐ คนอย่างไรก็ดีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๙ ความไม่พอใจของชาวอาหรับที่สั่งสมมานานก็ปะทุออกมาในเหตุการณ์ที่เรียกว่า กรณีกำแพงกำสรวล (Wailing Wall Incident) ซึ่งเป็นการพิพาทเรื่องการปฏิบัติกิจทางศาสนาที่กำแพงตะวันตก (Western Wall) ของนครเยรูซาเลมที่ชาวยิวถึอว่าศักดิ์สิทธิ์จนมีชาวยิวถูกสังหาร ๑๓๓ คนและบาดเจ็บ ๓๓๙ คนเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชุมชนยิวเก่าแก่ในซาฟัด (Safad) และเฮบรอน(Hebron) ถูกกวาดล้าง ฝ่ายอาหรับถูกทหารปราบปรามเสียชีวิต ๑๑๖ คนบาดเจ็บ ๒๓๒ คนการไต่สวนสาเหตุหลังเหตุการณ์ระบุว่าการปะทะเกิดจากฝ่ายอาหรับเห็นว่าการอพยพเข้าเมืองของชาวยิวกำลังคุกคามการดำรงชีพของพวกตนและจะยิ่งมากขึ้นในอนาคต ในเดือนตุลาคมต่อมา ฝ่ายอังกฤษเองก็มีรายงานของเซอร์จอห์นโฮป ซิมป์สัน(John Hope Simpson) ยืนยันว่าไม่มีที่ดินเหลือพอให้แก่ผู้อพยพรายใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการเกษตรอีกแล้ว
  สำหรับจำนวนประชากรในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายอาหรับติดใจนั้นใน ค.ศ. ๑๙๑๙ ร้อยละ ๙๐ ยังคงเป็นชาวอาหรับ แต่เมื่อเป็นดินแดนในอาณัติแล้วองค์กรตัวแทนชาวยิวได้เข้าดูแลเรื่องการอพยพเข้าเมือง แต่ไม่มีการควบคุมเคร่งครัดจนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๓๙ เนื่องจากสถานการณ์ ในยุโรปทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นชาวยิวเริ่มอพยพเข้าไปในปาเลสไตน์มากอย่างเด่นชัดเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนีใน ค.ศ. ๑๙๓๓ ใน ค.ศ. ๑๙๓๐ มีจำนวนชาวยิวอพยพประมาณ ๕,๐๐๐ คนและเพิ่มเป็นเกือบถึง ๖๒,๐๐๐ คนต่อปีใน ค.ศ. ๑๙๓๕ ทำให้ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๔๕ ในจำนวนคนเข้าเมืองตามกฎหมาย ๔๐๑,๑๔๙ คนเป็นชาวยิวถึง ๓๖๗,๘๔๕ คนนอกจากนี้ ยังมีชาวยิวส่วนที่ลักลอบอพยพเข้าเมืองหลัง ค.ศ. ๑๙๓๓ และในทศวรรษ ๑๙๔๐ ในฐานะผู้หนีภัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของพวกนาซี (Nazi) จากยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก นอกจากประชากรยิวจะเพิ่มมากขึ้นในปาเลสไตน์แล้วชาวยิวยังเป็นผู้ถือครองที่ดินในปาเลสไตน์มากขึ้นด้วยซึ่งทำให้ชาวอาหรับต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินมากขึ้นเนื่องจาก ใน ค.ศ. ๑๙๐๗ องค์การไซออนิสต์ได้จัดตั้งกองทุนแห่งชาติยิว(Jewish National Fund) เพื่อซื้อที่ดินในปาเลสไตน์จากเจ้าของที่ดินชาวซีเรียและชาวเลบานอนที่พักอาศัยอยู่ที่อื่นและจากชาวอาหรับในปาเลสไตน์เอง นครเทลอารีฟ (Tel Aviv) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นนครยิวล้วนมีประชากร ๑๕๐,๐๐๐ คนชุมชนยิวในปาเลสไตน์บริหารโดยองค์กรตัวแทนชาวยิวซึ่งทำหน้าที่เสมือนฝ่ายบริหารขององค์การไซออนิสต์ในปาเลสไตน์ มีสภาแห่งชาติ และกองกำลังป้องกันตนเอง ซึ่งต่อมาก็คือกองทัพอิสราเอล
  ในเดือนเมษายนค.ศ. ๑๙๓๖ ชาวอาหรับที่หวั่นเกรงคลื่นการอพยพของชาวยิวได้ก่อการประท้วงทางการเมืองต่อรัฐบาลที่บริหารตามอาณัติสันนิบาตชาติ เกิดเหตุจลาจลทั่วไปในปาเลสไตน์เป็นเวลาถึง ๕ เดือนเพราะพรรคการเมืองต่าง ๆ ของฝ่ายอาหรับได้รวมตัวกันเป็นคณะกรรมาธิการอาหรับระดับสูง (Arab High Committee) ซึ่งสั่งการให้นัดหยุดงานครั้งใหญ่ทั่วปาเลสไตน์ (ยกเว้นผู้ที่เป็นชาวอาหรับในวงราชการที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่) จนกระทั่งผู้ปกครองชาติอาหรับใกล้เคียงเข้ามาไกล่เกลี่ยการจลาจลจึงยุติลงได้ อังกฤษตั้งคณะกรรมาธิการพีล (Peel Commission) เข้ามาศึกษาสถานการณ์ในภูมิภาคคณะกรรมาธิการได้ศึกษาภูมิหลังอย่างละเอียดและในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๗ ก็ได้จัดพิมพ์รายงานซึ่งระบุว่าการบริหารแบบอาณัตินั้นไม่มีประสิทธิภาพ พันธะที่อังกฤษมีต่ออาหรับและยิวนั้นไม่สามารถดำเนินไปด้วยกันได้ เพราะฝ่ายอาหรับต้องการเอกราชและหวั่นเกรงการจัดตั้งรัฐของฝ่ายยิวคณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐยิวและรัฐอาหรับโดยให้นครเยรูซาเลมและเบทเลเฮม (Bethlehem) เป็นเขตปกครองนานาชาติ
  รัฐบาลอังกฤษเห็นชอบกับรายงานนี่ แต่ฝ่ายอาหรับตื่นตระหนกกับความคิดแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์โดยเฉพาะเรื่องที่คณะกรรมาธิการกล่าวถึงการบังคับให้ชาวอาหรับในเชตที่ระบุว่าจะเป็นของยิวโยกย้ายถิ่นฐานออกไป จึงไม่เห็นด้วย ส่วนฝ่ายยิวมีท่าทีกํ้ากึ่งเพราะดินแดนที่คณะกรรมาธิการเสนอให้มีขอบเขตมากกว่าดินแดนที่พวกยิวถือครองอยู่ แต่ฝ่ายยิวก็ยังคงต้องการการปกป้องจากการเป็นดินแดนในอาณัติอยู่ก่อนที่จะพัฒนาต่อไปการประท้วงต่อต้านการบริหารของอังกฤษจึงยิ่งเพิ่มขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๓๗ และ ค.ศ. ๑๙๓๘ แม้อังกฤษจะเพิ่มการใช้กำลังทหารปราบปรามและประกาศว่า คณะกรรมาธิการอาหรับระดับสูงเป็นองค์กรนอกกฎหมายและเนรเทศผู้นำองค์กรนี่หลายคนไปอยู่ที่หมู่เกาะซีเชลส์ (Seychelles) ในมหาสมุทรอินเดีย ใน ค.ศ. ๑๙๓๘ ฝ่ายอาหรับในปาเลสไตน์ก่อการจลาจลครั้งใหญ่หลังจากที่เกิดการก่อการร้ายอย่างกว้างขวางมาก่อนหน้าคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนที่อังกฤษส่งเช้าไปช่วงการจลาจลบอกปัดเรื่องการแบ่งแยก ดินแดนทั้งหมดโดยอ้างว่ามีอุปสรรคมากและเสนอให้จัดตั้ง สหภาพเศรษฐกิจแทนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๓๙ รัฐบาลอังกฤษจึงแถลงนโยบายใหม่ในสมุดปกขาวเกี่ยวกับปาเลสไตน์ว่าจะสถาปนารัฐปาเลสไตน์แห่งชาติเดียวหรือสองชาติที่เป็นอิสระภายใน๑๐ ปี ในช่วงเปลี่ยนผ่าน๑๐ ปี นั้นยิวและอาหรับจะมีส่วนร่วมในการบริหารปกครอง การซื้อขายที่ดินจะจำกัดจำนวนลง รวมทั้งการโยกย้ายถ่ายโอนก็จะมีการกำหนดกรอบโดยช้าหลวงใหญ่อังกฤษ นอกจากนั้นการอพยพเข้าเมืองของชาวยิวภายใน๕ ปีแรกกำหนดไว้ที่ ๗๕,๐๐๐ คนและหลังจาก ค.ศ. ๑๙๔๔ การอพยพเข้าเมืองของยิวจะทำได้เมื่อได้รับการยินยอมจากฝ่ายอาหรับเท่านั้นแต่ฝ่ายอาหรับยังคงปฏิเสธนโยบายนี่อีก ส่วนฝ่ายรวมองว่าเป็นการถอยหลัง สมุดปกขาวฉบับ ค.ศ. ๑๙๓๙ ของทางการอังกฤษจึงเท่ากับเป็นการยุติความตกลงฉันมิตรระหว่าง อังกฤษกับขบวนการไซออนิสต์
  อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เกิดขึ้นภาวะขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับจึงระงับลงชั่วคราวกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในปาเลสไตน์ถูกอังกฤษสั่งห้ามดำเนินการ แต่ชุมชนทั้งฝ่ายยิวและฝ่ายอาหรับต่างติดอาวุธอย่างลับ ๆ เพื่อดำเนินการต่อเมื่อสงครามสิ้นสุด อังกฤษฝึกทหารให้หน่วยยิวที่อาสาช่วยฝ่ายพันธมิตรรบในสมรภูมิแอฟริกาและเมดิเตอร์เรเนียนแม้ว่ามีกลุ่มลัทธิแก้ไซออนิสต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออังกฤษจัดตั้งหน่วยรบของตนเองและสู้กับอังกฤษ อย่างไรก็ดี การจำกัดสิทธิชาวยิวในการซื้อที่ดินและการสกัดกั้นการเข้าเมืองได้มีผลในทางปฏิบัติจริง ซึ่งเท่ากับปิดประตูใส่ชาวยิวในยุโรปที่กำลังจะหนีภัยฮิตเลอร์
  ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๒ กลุ่มไซออนิสต์ จัดการประชุมขึ้นที่โรงแรมบิลต์มอร์ (Biltmore) นครนิวยอร์ก โดยมีเดวิด เบน-ถูเรียน(David Ben-Gurion) เป็นผู้นำ ที่ประชุมเห็นชอบกับโครงการที่ต่อมาเรียกว่าโครงการบิลต์มอร์ซึ่งเรียกร้องอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกให้ยุติการปกครองปาเลสไตน์แบบดินแดนในอาณัติและประกาศว่า การสถาปนา เครือรัฐยิว(Jewish Commonwealth) ในเขตปาเลสไตน์ ทางตะวันตกของจอร์แดนเป็นเป้าหมายของยิวในการทำสงคราม ไม่นานหลังจากนั้นกลุ่มก่อการร้าย ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเอียร์กุนชวาอีเลอมี (Irgun Zvai Leumi) หรือองค์การทหารแห่งชาติ และแก๊งสเติร์น(Stern Gang) หรือองค์การ เลฮี (Lehi) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่อาหรับก่อจลาจล ค.ศ. ๑๙๓๖-๑๙๓๙ ก็เริ่มก่อความรุนแรงมากขึ้นเพื่อทำให้ภาวะสงบศึกการเมืองชั่วคราวระหว่างยิวกับอาหรับสิ้นสุดลงขณะเดียวกันฝ่ายยิวก็จัดตั้งองค์การกึ่งกองทัพหรือฮะกะนาห์ (Haganah) ขึ้นกองทัพนี่ขโมยอาวุธและกระสุนดินปืนจากอังกฤษ และจัดการให้ชาวยิวในยุโรปที่หนีภัยฮิตเลอร์ลักลอบ นำเข้ามาในปาเลสไตน์ ขณะที่ผู้นำการเมืองชาวยิวไม่เห็นด้วยกับการก่อการร้าย แต่ก็ไม่ช่วยฝ่ายอังกฤษในการนำผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาล ใน ค.ศ. ๑๙๔๔ กลุ่มลัทธิแก้ไซออนิสต์ โจมตีอาคารที่ทำการของรัฐบาลข้าหลวงอังกฤษที่บริหาร ปาเลสไตน์รวมทั้งสถานีประจำการของตำรวจและทหารอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายนวอลเตอร์ เอดเวิร์ด กินเนสบารอนมอยน์ ที่ ๑ (Walter Edward Guinness, 1ˢᵗ Baron Moyne) รัฐมนตรีอาณานิคมของอังกฤษถูกฆาตกรรมที่กรุงไคโรโดยสมาชิกแก๊งสเดิร์น๒ คน
  เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดและโลกได้รับรู้เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุโรป ๖ ล้านคนของนาซี พวกไซออนิสต์ ที่เรียกร้องให้ทบทวนสมุดปกขาวค.ศ. ๑๙๓๙ จึงได้รับความเห็นใจอย่างไม่เคยได้รับมาก่อนประธานาธิบดีแฮร์รี เอสทรูแมน(Harry S Truman) ของสหรัฐอเมริกา และสมาชิกรัฐสภาสหรัฐอเมริกาคนสำคัญ ๆ เรียกร้องให้ยกเลิกการจำกัดจำนวนชาวยิวอพยพเข้าปาเลสไตน์ทันทีและให้สถาปนารัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์เพื่อเป็นที่พำนักถาวรให้แก่ชาวยิวยุโรปจำนวนหลายแสนคนที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ชาวยิวจำนวนมากที่ถือสัญชาติของประเทศที่แพัสงครามก็ยังคงถูกกักตัวในค่ายผู้ลี้ภัยเพราะประเทศต่าง ๆ ในยุโรปรวมทั้งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ปฏิเสธที่จะรับชาวยิวอพยพเข้าไปอยู่อย่างถาวรใน ค.ศ. ๑๙๔๖ คณะกรรมาธิการไต่สวนอังกฤษ-สหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee)* อนุมิติใบอนุญาตเข้าปาเลสไตน์แก่ชาวยิวจากค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศยุโรป ๑๐๐,๐๐๐ คนทันทีและยกเลิกการจำกัดการขายที่ดินให้แก่ชาวยิวและให้อังกฤษปกครองปาเลสไตน์ต่อไป แต่ไม่ยอมรับการแบ่งดินแดนและการให้เอกราชแก่ยิวและอาหรับในปาเลสไตน์เพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรงตามมา
  ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๗ รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งอ่อนแอทางเศรษฐกิจเพราะความบอบชํ้าจากสงครามจึงต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายทางทหารที่สูงมากในการรักษาอาณัติ ทั้งหมดความอดทนกับการรุกคืบอย่างไม่ลดละทั้งทางการเมืองและการทหารของฝ่ายไซออนิสต์ ตลอดจนการปฏิเสธอย่างต่อเนื่องของฝ่ายอาหรับที่จะให้ดินแดนปาเลสไตน์แก่ฝ่ายยิวอังกฤษจึงตัดสินใจให้สหประชาชาติทำหน้าที่ยุติปัญหาข้อพิพาทยิว-อาหรับในดินแดนปาเลสไตน์ แทนสหประชาชาติตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษชุดหนึ่งขึ้นซึ่งได้เดินทางมายังภูมิภาคนี่ และเสนอรายงานในปีนั้นในรายงานแนะนำให้แบ่งดินแดนออกเป็นรัฐยิวกับรัฐอาหรับ โดยคงมีสหภาพเศรษฐกิจ และให้นครเยรูชาเลมมีสถานะเป็นนครนานาชาติ สหประชาชาติรับรองแผนการแบ่งดินแดนนี่ด้วยคะแนน๒ ใน๓ ของจำนวนประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๔๗ ประเทศมุสลิมในเอเชียลงคะแนนคัดค้านหมด กลุ่มประเทศอาหรับเสนอให้มีหนังสือถามไปยังศาลโลกว่าที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติมีสิทธิออกเสียงคัดค้านความประสงค์ของพลเมืองส่วนใหญ่ในปาเลสไตน์ได้หรือไม่ (ใน ค.ศ. ๑๙๔๖ ดินแดนปาเลสไตน์ มีประชากรอาหรับ ๑,๒๖๙,๐๐๐ คนยิว๖๗๘,๐๐๐ คน) แต่ที่ประชุมใหญ่ลงมติไม่รับข้อคัดค้านดังกล่าวอย่างฉิวเฉียดเป็นอันว่าปาเลสไตน์จะสิ้นสุดการเป็นดินแดนในอาณัติไม่เกินวันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ จากนั้นรัฐอาหรับและรัฐยิวจะได้รับสถาปนาเป็นเอกราชก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น
  ในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ ผู้แทนฝ่ายอาหรับคัดค้านการแบ่งดินแดนอย่างไม่ลดละและประท้วงด้วยการออกจากห้องประชุม เมื่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถรับรองมติของที่ประชุมใหญ่ บรรดาประเทศอาหรับจึงกล่าวว่าไม่มีผลต่อรัฐบาลของตนความวุ่นวายเกิดขึ้นทันทีในดินแดนปาเลสไตน์ ทั้งยิวและอาหรับต่างฝ่ายต่างเสียเลือดเนื้อ อังกฤษก็ปฏิเสธที่จะดำเนินนโยบายใด ๆ ที่ทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างไม่ยอมรับ จึงประกาศว่าจะยุติการบริหารดินแดนในอาณัติ แห่งนี้และจะถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ภายในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ ก่อนหน้านั้น๑ วันนายพลเซอร์ แอแลนคันนิงแฮม (Alan Cunningham) ข้าหลวงใหญ่คนสุดท้ายเดินทางออกจากปาเลสไตน์ และขณะที่ทหารอังกฤษหน่วยสุดท้ายแล่นเรือออกจากเมืองท่าไฮฟา (Haifa) องค์กรตัวแทนชาวยิวซึ่งมีเดวิด เบน-ภูเรียนเป็นผู้นำก็ประกาศ จัดตั้งรัฐอิสราเอลตามพรมแดนที่สหประชาชาติระบุไว้ว่าเป็นรัฐยิวสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตให้การรับรองรัฐใหม่แห่งนี้หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง และเช้าวันที่ ๑๕ พฤษภาคม กองทัพของบรรดาเหล่าประเทศสันนิบาตอาหรับอันได้แก่ ซีเรีย ทรานส์จอร์แดนอิรัก และอียิปต์ก็ยกทัพข้ามพรมแดนเข้าไปรุมโจมตีอิสราเอล นับเป็นการเริ่มต้นสงคราม ยิว-อาหรับครั้งที่ ๑
  เก้าเดือนหลังจากนั้นเป็นช่วงเวลาสลับกันระหว่างการรบและการพักรบ กองกำลังอาหรับประสบความสำเร็จเพียงแต่สามารถครอบครองดินแดนส่วนที่ยิวยังไม่เคยครอบครองเว้นเขตเยรูซาเลมซึ่งถูกยึดโดยกองทหารชองทรานส์จอร์แดนสหประชาชาติส่งโฟลเคอ เบร์นาดอตต์ (Folke Bernadotte) แห่งสวีเดนมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ขณะที่เขายังไม่สามารถทำอะไรได้คืบหน้านักก็ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายนค.ศ. ๑๙๔๘ เหตุการณ์นี่แก๊งสเติร์นถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ดร.ราล์ฟ บันช์ (Ralph Bunche) จากสหรัฐอเมริกาถูกส่งมาทำหน้าที่สืบต่อจากเบร์นาดอตต์ซึ่งสามารถจัดให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๙ จอร์แดนได้เขตเก่าซึ่งเป็นเขตตะวันออกของนครเยรูซาเลม (อีสต์เยรูชาเลม) และตอนกลางของปาเลสไตน์ที่เรียกกันว่าเขตเวสต์แบงก์ (West Bank) ชื่อของประเทศที่ขยับขยายพรมแดนได้เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรฮาชิมิตแห่งจอร์แดนอียิปต์ได้ฉนวนกาซา (Gaza Strip) ส่วนอิสราเอลซึ่งตามแผนแบ่งดินแดนของสหประชาชาติเคยได้รับส่วนแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ร้อยละ ๕๖ ก็ได้ดินแดนเพิ่มเติมในกาลิลี (Galilee) และส่วนอื่นๆ ทางตอนเหนือ ตอนกลาง และทางภาคใต้ที่สหประชาชาติเคยจัดสรรให้เป็นส่วนของฝ่ายอาหรับ และได้เขตใหม่ของนครเยรูชาเลม เป็นอันว่าอิสราเอลซึ่งมีประชากรไม่ถึง ๑ ใน๓ ของประชากรทั้งหมดในปาเลสไตน์ได้ครอบครองดินแดนกว่า ๓ ใน๔ ของปาเลสไตน์ทำให้ชาวอาหรับ ถึง ๑๖๐,๐๐๐ คนต้องตกค้างอยู่ในดินแดนที่ระบุให้เป็นของอิสราเอล ชื่อปาเลสไตน์ก็หายไปจากแผนที่ ชาวปาเลสไตน์เองจึงต้องแตกฉานซ่านเซ็นหรือไม่ก็มีชีวิตอยู่ใต้ปกครองของต่างชาติ ภายในฤดูร้อนค.ศ. ๑๙๔๙ อิสราเอลก็สามารถ เจรจาหยุดยิงกับประเทศเพื่อนบ้านได้หมด รัฐบาลกว่า ๕๐ ประเทศก็ได้ให้การรับรองสาธารณรัฐแห่งใหม่นี่ซึ่งได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ สามารถสถาปนาอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนประมาณ ๒๐,๗๐๐ ตารางกิโลเมตรที่เคยอยู่ในอาณัติสันนิบาตชาติทางตะวันตกของแม่นํ้าจอร์แดน
  ผลประการหนึ่งของการสถาปนาอิสราเอลและสงครามยิว-อาหรับที่เกิดขึ้นตามมา คือการอพยพจำนวนมากของชาวอาหรับจากดินแดนปาเลสไตน์ บ้างไปเพราะความรู้สึกเป็นปรปักษ์ บ้างไปเพราะความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการคงอยู่ในรัฐยิวบ้างไปเพราะถูกกลุ่มหัวรุนแรงจากทั้ง ๒ ฝ่ายบังคับให้อพยพออก ผู้อพยพจำนวนหนึ่งค่อย ๆ ผสานตัวกลายเป็นประชากรของประเทศอาหรับเพื่อนบ้านแต่จำนวนมากไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะผสมผสานด้วยจึงคงพักอาศัยในค่ายผู้อพยพ โดยเฉพาะในจอร์แดนซีเรีย และในฉนวนกาซา และมีลูกหลานซึ่งกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่สร้างปัญหาให้แก่ดินแดนตะวันออกกลางอย่างไม่สิ้นสุด ชะตากรรมของผู้ลี้ภัยเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของความเป็นศัตรูระหว่างอิสราเอลักบกลุ่มประเทศอาหรับ องค์กรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของผู้ลี้ภัยดำเนินการภายใต้องค์การปลดปล่อย ปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization-PLO) ซึ่งเรียกร้องสิทธิของคนเหล่านี้ ในการกลับคืนสู่ถิ่นฐานและการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๗ ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๔๙ ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คนกลายเป็นผู้อพยพ ส่วนใหญ่ไปอยู่ประเทศอาหรับข้างเคียง ส่วนน้อยคงอยู่ในอิสราเอล บ้างไปประเทศริมอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งไกลจากถิ่นเดิมออกไป ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติและกลายเป็นแหล่งของแรงงานราคาถูกในประเทศที่ไปพักพิง ชาวปาเลสไตน์พอจะหางานทำได้ในซีเรีย เลบานอนและประเทศริมอ่าวเปอร์เซีย แต่มีเพียงจำนวนน้อยที่จะได้รับสัญชาติของประเทศที่ตนไปพักพิง จึงต้องทนรับสภาพการถูกเลือกปฏิบัติและถูกเพ่งเล็งการเคลื่อนไหวทางการเมือง ดินแดนฉนวนกาซาก็ถูกอียิปต์ปกครองอย่างเข้มงวดชาวปาเลสไตน์ที่นั่นไม่ได้มีฐานะเป็นพลเมืองของชาติใดหลายคนอยู่ในค่ายผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกกลาง ที่สหประชาชาติดูแลอยู่.



คำตั้ง
Palestine Mandate; British Mandate for Palestine; Mandate of Palestine
คำเทียบ
ดินแดนในอาณัติแห่งปาเลสไตน์
คำสำคัญ
- แอตต์ลี, เคลเมนต์
- ออสเตรีย-ฮังการี
- องค์กรตัวแทนชาวยิว
- สันนิบาตชาติ
- สหประชาชาติ
- การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- กลุ่มไซออนิสต์
- ขบวนการไซออนิสต์
- แก๊งสเติร์น
- คณะกรรมาธิการพีล
- ข้อตกลงไซกส์-ปีโก
- แซมวล, เซอร์เฮอร์เบิร์ต
- บันช์, ราล์ฟ
- ดินแดนในอาณัติแห่งปาเลสไตน์
- เบร์นาดอตต์, โฟลเคอ
- แมกมาฮอน, เซอร์เฮนรี
- ปฏิญญาบัลฟอร์
- รอทส์ไชลด์, ลอร์ดวอลเตอร์
- ลัทธิแก้
- สงครามโลกครั้งที่ ๑
- สงครามโลกครั้งที่ ๒
- สนธิสัญญาโลซาน
- แอลเลนบี, เอดมันด์
- ฮิตเลอร์, อดอล์ฟ
ช่วงเวลาระบุเป็นคริสต์ศักราช
-
ช่วงเวลาระบุเป็นพุทธศักราช
-
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
ซาคริต ชุ่มวัฒนะ
บรรณานุกรมคำตั้ง
-
แหล่งอ้างอิง
-